เมนู

สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเราก็รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญเราก็
เจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราก็ละแล้ว เพราะฉะนั้น เรา
จึงเป็นพุทธะ นะพราหมณ์.

ก็ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์ สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกัตตุการก
(ปฐมาวิภัตติ) ชื่อว่า พุทธะ เพราะเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ผู้บรรลุคุณวิเศษ
ทราบกันอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
หนอ. ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกรรมการก.
หรือว่า ความรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ชื่อว่า พุทธะ อธิบายว่า ผู้ทรงมีความรู้. คำนั้นทั้งหมดพึงทราบตามแนวศัพท-
ศาสตร์. บทว่า กีทิสโก ความว่า เป็นเช่นไร น่าเห็นอย่างไร เสมือนอะไร
มีผิวอย่างไร มีทรวดทรงอย่างไร ยาวหรือสั้น.
บทว่า นรุตฺตโม ได้แก่ ความสูงสุด ความล้ำเลิศ ความประเสริฐสุด
แห่งนรชน หรือในนรชนทั้งหลาย เหตุนั้น จึงชื่อว่า นรุตตมะ.
ความสำเร็จ ชื่อว่า อิทธิ ในคำว่า อิทฺธิพลํ นี้. ชื่อว่า อิทธิ
เพราะอรรถว่า สำเร็จผล เพราะอรรถว่าได้. อีกนัยหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายสำเร็จ
ได้ด้วยคุณชาตินั้น คือเป็นผู้สำเร็จ จำเริญ ถึงความสูงยิ่ง เหตุนั้น คุณชาติ
นั้น จึงชื่อว่า อิทธิ คุณชาติเครื่องสำเร็จ.
ก็

อิทธินั้นมี 10 อย่าง

เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า
บทว่า อิทฺธิโย ได้แก่ อิทธิ 101 อย่าง. อะไรบ้าง คือ อธิษฐานา-
อิทธิ 1 วิกุพพนาอิทธิ 1 มโนมยาอิทธิ 1 ญาณวิปผาราอิทธิ 1
สมาธิวิปผาราอิทธิ 1 อริยาอิทธิ 1 กัมมวิปากชาอิทธิ 1 ปุญญวโต-
อิทธิ 1 วิชชามยาอิทธิ 1 ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ เพราะ
ประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย 1


1. ขุ. ป. 31/ข้อ 680

อิทธิเหล่านั้น ต่างกันดังนี้. โดยปกติคนเดียวย่อมนึกเป็นมากคน
นึกเป็นร้อยคนหรือพันคนแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า เราเป็นมากคน ฤทธิ์ที่
แยกตัวแสดงอย่างนี้ ชื่อว่า อธิษฐานาอิทธิ เพราะสำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐาน.
อธิษฐานาอิทธินั้น มีความดังนี้ ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา
ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ถ้าปรารถนาเป็นร้อยคน ก็ทำบริกรรมด้วยบริ-
กรรมจิตเป็นกามาวจรว่า เราเป็นร้อยคน เราเป็นร้อยคน แล้วเข้าฌาณอันเป็น
บาทแห่งอภิญญาอีก ออกจากฌานนั้นแล้วนึกอธิษฐานอีก ก็เป็นร้อยคน
พร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเอง. แม้ในกรณีพันคนเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ใน
อธิษฐานาอิทธินั้น จิตที่ประกอบด้วยปาทกฌาน มีนิมิตเป็นอารมณ์ บริกรรม
จิตมีร้อยคนเป็นอารมณ์บ้าง มีพันคนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์บ้าง
บริกรรมจิตเหล่านั้นแล เป็นไปโดยอำนาจแห่งสี มิได้เป็นไปโดยอำนาจ
แห่งบัญญัติ แม้อธิษฐานจิต ก็มีร้อยคนเป็นอารมณ์อย่างเดียว. แต่อธิษฐาน
จิตนั้น ก็เหมือนอัปปนาจิต เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูจิตเท่านั้น ประกอบด้วย
จตุตถฌานฝ่ายรูปาวจร. แต่ผู้นั้น ละเพศปกติเสีย แสดงเพศกุมารบ้าง แสดง
เพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพแม้ต่างๆ บ้าง ฤทธิ์
ที่มาโดยอาการดังกล่าวมาอย่างนี้ ชื่อว่า วิกุพพนาอิทธิ เพราะเป็นไป โดย
ละเพศปกติ ทำให้แปลก ๆ ออกไป.
ฤทธิ์ที่มาโดยนัยนี้ว่า ภิกษุในพระศาสนานี้เนรมิตกายอื่นนอกจากกาย
นี้ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เป็นต้น ชื่อว่า มโนมยาอิทธิ [มโนมยิทธิ] เพราะเป็นไปโดยสำเร็จแห่ง
สรีระที่สำเร็จมาแต่ใจ อันอื่น ในภายในสรีระนั่นเอง.

1. ดู. ขุ.ป. 31/ข้อ 794

คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัตญาณ อันพึงได้ด้วย
อัตภาพนั้น ก่อนหรือหลังญาณเกิด หรือในขณะนั้นเอง ชื่อว่า ญาณวิปผารา
อิทธิ. ท่านพระพากุละ และท่านพระสังกิจจะ ก็มีญาณวิปผาราอิทธิ. เรื่อง
พระเถระทั้งสองนั้น พึงกล่าวไว้ในข้อนี้.
คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพสมถะก่อนหรือหลังสมาธิ หรือในขณะ
นั้นเองชื่อว่า สมาธิวิปผาราอิทธิ. ท่านพระสารีบุตร ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ.
ท่านพระสัญชีวะ ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ. อุตตราอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ
สามาวดีอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ เรื่องทั้งหลายของท่านเหล่านั้นดังกล่าว
มานี้ ก็พึงกล่าวในข้อนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวไว้พิศดาร เพื่อบรรเทาโทษ
คือความยืดยาวของคัมภีร์.
อริยาอิทธิเป็นอย่างไร ภิกษุในพระศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เรานั่งอยู่
มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลไซร้ ย่อมอยู่ มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลอยู่
ในอารมณ์นั้น ถ้าหวังว่าเราพึงอยู่ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลไซร้
ย่อมอยู่ มีความว่าปฏิกูลในอารมณ์นั้น ฯลฯ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ใน
อารมณ์นั้น. แม้อิทธินี้ก็ชื่อว่า อริยาอิทธิ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งพระอริยะ
ทั้งหลายผู้ถึงความชำนาญทางใจ.
กัมมวิปากชาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์มีการไปทางอากาศได้เป็นต้น
ของเหล่านกทั้งหมด ของเทวดาทั้งหมด ของมนุษย์ต้นกัปและของวินิปาติกสัตว์
บางเหล่าชื่อว่า กัมมวิปากชาอิทธิ.
ปุญญวโตอิทธิเป็นอย่างไร. พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จทางอากาศไป
กับกองทัพ 4 เหล่า. ภูเขาทองขนาด 80 ศอก บังเกิดแก่ชฏิลกคฤหบดี ฤทธิ์
นี้ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. โฆสกคฤหบดี แม้เมื่อถูกเขาพยายามฆ่าในที่ 7 แห่ง

ก็ไม่เป็นไร ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. ความปรากฏของแพะทั้งหลาย ที่ทำด้วย
รัตนะ 7ในประเทศประมาณ 8 กรีสแก่เมณฑกเศรษฐี ชื่อว่าปุญญวโตอิทธิ.
วิชชามยาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พวก
วิทยาธรร่ายวิทยาเหาะได้ แสดงช้างในอากาศบนท้องฟ้า โอกาสที่เห็นได้ใน
ระหว่างช้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพต่างๆ บ้าง ชื่อว่า วิชชามยาอิทธิ.
คุณวิเศษที่ทำกิจกรรมนั้นแล้วบังเกิด เป็นอิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบเป็นปัจจัย ดังนี้ อิทธินี้ จึงชื่อว่า อิทธิ เพราะ
อรรถว่า สำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย.
อธิบายว่า กำลังแห่งฤทธิ์ 10 อย่างนี้ชื่อว่า อิทธิพละ กำลังแห่งฤทธิ์ พระญาติ
เหล่านี้ ไม่รู้จักกำลังแห่งฤทธิ์ของเรา.
กำลังแห่งปัญญาคือพระอรหัตมรรค อันให้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตระทั้งหมด ท่านประสงค์ว่า กำลังแห่งปัญญา. พระญาติเหล่านี้ไม่รู้จัก
กำลังแห่งปัญญาแม้นั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่ากำลังแห่งปัญญานี้
เป็นชื่อของญาณที่ไม่สาธารณะ 6 ประการ. พุทธานุภาพหรือทศพลญาณ
ชื่อว่ากำลังแห่งพระพุทธเจ้าในคำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้านี้.

ญาณ 10

คือ
1. ฐานาฐานญาณ ญาณที่กำหนดรู้ฐานะเหตุที่ควรเป็นได้ และ
อฐานะ เหตุที่ไม่ควรเป็นได้.
2. อตีตานาคตปัจจุปปันนกัมมวิปากชานนญาณ ปรีชากำหนด
รู้ผลแห่งกรรมที่เป็นอดีตและปัจจุบัน.
3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
4. อเนกธาตุนานาธาตุโลกชานนญาณ ปรีชากำหนดรู้โลกคือ
รู้ธาตุเป็นอเนกและธาตุต่างๆ.